ผู้นำระบบดูแลความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง
Height Safety

ตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้ง HORIZONTAL LIFELINE บนหลังคา

ตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้ง HORIZONTAL LIFELINE บนหลังคา

เราอาจเปรียบแนว LIFELINE บนหลังคา ได้กับ ฟุตบาททางเดินบนพื้น กล่าวคือ ฟุตบาทจะเป็นตัวกำหนดทางเดินของเรา จากจุดหนึ่งไปอีกหลายๆ จุด ซึ่งเป็นทางเดินที่ใกล้และเหมาะสมที่สุด รวมถึงการหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่กีดขวางต่างๆ ระหว่างทาง ดังนั้น LIFELINE จึงถูกควรกำหนดให้วางจากตำแหน่งทางขึ้นหลังคายังจุดต่างๆ บนหลังคาที่เรามีวัตถุประสงค์จะเดินไปเพื่อทำภาระกิจ เช่น การไปล้างเครื่อง COMPRESSOR บนหลังคา, การไป MAINTENANCE ทำความสะอาด SOLAR PANEL, การไปซ่อมบำรุงปล่องระบายอากาศ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่หลังคาของอาคารต่างๆ นั้นมีพื้นที่กว้าง อีกทั้งหลายต่อหลายครั้งพบว่าการติดตั้ง LIFELINE ไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ว่าจะขึ้นไปเพื่อภาระกิจใด แต่อาจจะเป็นการซ่อมแซมหลังคา ซึ่งอาจจะอยู่บริเวณไหนของหลังคาก็ได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง บนพื้นที่หลังคา โดยอาจจะพิจารณาตำแหน่งติดตั้ง LIFELINE ดังนี้

กรณีที่หลังคามีความชันน้อยกว่า 15 (หลังคาไม่ชัน)

ควรทำการติดตั้ง LIFELINE ที่ระยะ 2 เมตร ห่างจากขอบอาคาร เนื่องจากบริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง หากเจ้าหน้าที่ขึ้นไปปฏิบัติงานแล้วเกิดการสะดุด หรือ ลื่นล้ม อาจจะตกจากขอบหลังคาได้ เป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิต หรือ บาดเจ็บสาหัส ส่วนที่เป็นระยะ 2 เมตรนั้น เพราะความยาวมาตรฐานของ LANYARD ที่เราใช้กันอยู่ จะมีความยาวรวมตะขอและ ABSORBER อยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ระยะดังกล่าวจึงเป็นระยะปลอดภัยที่ป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่หลุดออกมาจาก บริเวณพื้นที่หลังคาได้ หรือ ที่เรียกว่า FALL RESTRAINT

กรณีที่หลังคามีความชันมากกว่า 15 (หลังคาชัน)

ควรทำการติดตั้ง LIFELINE บริเวณแนวจั่วหลังคา เนื่องจากทุกพื้นที่หลังคานั้นมีความเสียงที่ เจ้าหน้าที่ขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่จะกลิ้งตกลงมาจากหลังคาได้ จึงต้องทำงานในลักษณะโรยตัวทำงาน